ประวัติความเป็นมา







ปลากัด
     เป็นปลาพื้นเมืองของไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของไทย ในบริเวณน้ำตื้นที่ค่อนข้างใส น้ำนิ่งหรือไหลช้า และมีพันธุ์ไม้น้ำประปราย โดยปกติปลากัดมีนิสัยก้าวร้าวโดยเฉพาะเพศผู้ที่ชอบกัดกัน ทำให้คนนิยมนำมาต่อสู้กันเพื่อเกมกีฬาและการพนันจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก จนในปัจจุบันสามารถพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันสวยงามมากมาย ทำให้ในต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese Fighting Fish โดยในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตปลากัดส่งขายไปไกลถึงต่างแดนต่างทวีป และนำรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อปี เป็นอันดับต้นๆของปลาทั้งหมด เพราะนอกจากสีสันกับรูปร่างที่สวยงาม แล้วยังมีคูณสมบัติในการต่อสู้อย่างมีชั้นเชิงด้วย



     ในปี พ.ศ.2383 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มอบปลาแก่ นายแพทย์Theodor Cantor จาก Bengal Medical Service ผู้ที่ได้วาดภาพและบันทึกรายละเอียดของปลากัด จนกระทั่งปี พ.ศ.2452 C.Tate Regan ได้ทำการตรวจสอบและให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta Splendens ซึ่งคำว่า Bettha มาจากตำนานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ชนชาติของผู้ที่เป็นนักรบ ส่วนคำว่า Splendens มาจาก Splen did ซึ่งมีความหมายตรงกับ Beautiful ดังนั้น Betta Splendens จึงหมายถึง นักรบผู้สง่างาม จากข้อมูลในปัจจุบันปลากัดมีจำนวนมากกว่า 40 สายพันธ์ุ มีต้นกำเนิดในไทยไม่ต่ำกว่า 10 สายพันธุ์  โดยเซียนปลากัดจะแบ่งเป็น 3 ชนิดหลัก คือ ปลากัดทุ่ง ปลากัดลูกหม้อ ปลากัดสังกะสี

     
      ปลากัดดั้งเดิมเป็นปลากัดป่า หรือปลากัดทุ่ง ซึ่งจะมีนิสัย ดุดัน เวลาสู้กันมักสู้กันถึงตาย นิยมนำมากัดกัน แต่ลักษณะรูปร่างและสีจะไม่ค่อยสวยงาม แต่จากการเพาะพันธุ์มาหลายชั่วอายุคน ทำให้ได้ปลากัดสายพันธุ์ใหม่เยอะแยะมากมายที่มีรูปร่างสีสันที่สวยงาม ผู้คนจึงเริ่มนิยมนำเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและยิ่งทำให้เศรษฐกิจปลากัดดียิ่งขึ้น





ธนากร  ฤทธิ์ไธสง.  ปลากัด SIAMESE FIGHTING FISH.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร :

       หจก.เพชรกะรัต สติวดิโอ, พ.ศ.2545.

ศุภชัย นิลวานิช. ครบเครื่องธุรกิจปลาสวยงาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : 
       สำนักพิมพ์ มติชน, พ.ศ.2542

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น