การเพาะปลากัด

การเพาะพันธุ์
     ขั้นตอนที่ 1 เลือกพ่อแม่ปลากัดที่สมบูรณ์ ว่ายน้ำปราดเปรียวสีสวย ตัวผู้ขยันก่อหวอด ตัวเมียโตเต็มที่เห็นไข่ในลำตัวมีสีอ่อนสลับเข้มคาดเป็นแนวยาวจากหัวถึงหาง
     ขั้นตอนที่ 2 ถ้าพันธุ์ประเภทหางยาวควรมีอายุตั้งแต่ 4-10 เดือน ถ้าประเภทหางสั้นควรมีอายุประมาณ 4-6 เดือน 
     ขั้นตอนที่ 3 เลือกปลาประวัติสายพันธุ์ดี โดดเด่นทั้งสีสัน รูปร่าง
     ขั้นตอนที่ 4 ปลาตัวเมียไม่เล็กกว่าตัวผู้มากไป
     ขั้นตอนที่ 5 นำตัวผู้และตัวเมียใส่แยกคนละขวด และนำมาวางเทียบกันในที่เงียบ มีแสงสว่างพอให้ปลาเห็นกัน
     ขั้นตอนที่ 6 ล้างอ่างพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 ซ.ม. และนำไปตากแดด
     ขั้นตอนที่ 7 เติมน้ำลึกประมาณ 12 ซ.ม. ใส่เกลือทะเล 2 ช้อนชา และใส่ใบหูกวางให้น้ำเป็นสีเหลืองอ่อน เพื่อเลียนแบบสภาพแวดล้อมในธรรมชาติของปลากัด
     ขั้นตอนที่ 8 เช้าวันที่จะเริ่มนำมาผสมพันธุ์ ให้อาหารปลาให้อิ่ม รอย่อยและสิ่งปฏิกูลประมาณ 2 ช.ม.
     ขั้นตอนที่ 9 นำอ่างเพาะใส่กล่องโฟมใส่ปลาตัวผู้ตัวเมียลงอ่างปิดด้วยกระดาษแข็งกันปลากระโดด และห้ามเปิดดูโดยเด็ดขาด

     ขั้นตอนที่ 10 เปิดฝาอ่างตอนพระอาทิตย์ตกวันรุ่งขึ้นโดยใช้ไฟฉายส่องที่หวอด หากเห็นไข่ปลาเม็ดสีขาวขุ่นให้นำตัวเมียออกป้องกันตัวเมียกินไข่หรือโดนตัวผู้ทำร้าย เพราะช่วงแรกปลากัดตัวผู้จะเป็นผู้เลี้ยงดูและนำไข่ไปใส่หวอด เมื่อใส่หมดหรือปลาตัวเริ่มที่จะกินไข่ก็ให้นำออกทันที
     
      ส่วนปลากัดสีทองนั้น ลุงอ๋า ธีรศักดิ์ สุพินพง คือคนแรกของโลกที่เพาะพันธุ์ได้สำเร็จ และได้ให้คำแนะนำในการจากประสบการณ์ของตัวเอง โดยลุงอ๋าได้ใช้เทคนิคเดียวกันกับการผสมสีเมื่อสมัยอยู่อู่รถ เริ่มจากการเพาะ สีทองแดง และพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งให้ปลากัด สีทองแดง มีสีและเกล็ดเนียนไม่มีด่าง ซึ่งต้องทำหลายคอกเพื่อให้ได้สีทองแดง ที่จะนำมาเริ่มเพาะปลากัดทอง ทำให้ลุงอ๋านำเอา สีขาวแพลตตินั่ม มาผสมเพื่อให้ได้สีทองอ่อน และพัฒนาปลากัดสีขาวแพล็ตตินั่มให้เนียนและเกลี้ยงเช่นกัน หลังจากนั้นเมื่อได้พ่อและแม่ที่เป็น สีทองแดง กับ ขาวแพลตตินั่ม ก็จับมาผสมกัน จะได้ลูกสีมุขทอง สีทองแพลตตินั่มหรือทองอ่อนเท่านั้น และนำลูกสีทองอ่อนมาผสมกันเพื่อให้ได้ลูกที่มีสีทองมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นเราก็ต้องเลือกลูกตัวที่สีทองที่ดีที่สุดมาผสมเข้ากับพ่อสีทองตัวเดิม ลูกที่ได้ก็จะสีทองมากขึ้น เสร็จแล้วก็ต้องเลือกลูกที่เป็นสีทองที่ดีที่สุดเหมือนเช่นเคยมาผสมกับพ่อตัวเดิม และต้องทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าสายเลือดจะนิ่ง โดยลุงอ๋าใช้เวลาผสมพันธุ์ประมาณ 20-30 คอก จึงจะได้สีทองที่เนียนบริสุทธิ์











สิทธิศักดิ์ นันทเทิม. มหัศจรรย์ ปลากัดไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพมหานคร :

       บริษัท คอนฟอร์ม จำกัด, พ.ศ.2550.

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น